13.The Interview caption written in The Matichon&Prachachat Newspaper , Pub

The Interview caption written in The Matichon&Prachachat Newspaper , Publish:1/10/2009 (Thai Language)

ปัญหาของโรงแรมที่อยู่ใกล้ ๆ กรุงเทพฯ และจังหวัดท่องเที่ยวอย่างเมืองอยุธยาก็คือจะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาพักค้างคืนยิ่งการจราจรสะดวกเท่าไร โรงแรมในแถบปริมณฑลและจังหวัดใกล้กรุงเทพฯก็ยิ่งอยู่ยากมากขึ้น

ยิ่งในปัจจุบันโรงแรมประเภทบูติคโฮเต็ลมีคอนเซ็ปต์เก๋ ๆ กำลังเบียดเข้ามา ก็ยิ่งทำให้โรงแรมระดับ 1-3 ดาวอยู่ยากขึ้นไปอีก

คำถามก็คือเมื่อไม่มีคนมาพักแล้ว เจ้าของได้ทำอะไร ไปบ้าง

กรณีศึกษาของโรงแรมอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ช่วยให้โรงแรมที่ไม่เคยมีประชาชนคน ใน Google หรือในโลกสมัยใหม่รู้จักเลย กลับกลายเป็นโรงแรมที่อยู่ในหน้าที่ 2 เมื่อมีการเสิร์ชคำว่า “อโยธยา” เมื่อเวลาผ่านมาเพียงแค่ 1 เดือน

คำถามต่อมาคือโรงแรมระดับ 3 ดาวแย่จริงหรือ

นายนโรฒม์ เรืองระวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ โรงแรมอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษาของผู้ประกอบการโรงแรม 3 ดาวในอยุธยาสะท้อนถึงแนวคิดในการปรับปรุงเว็บไซต์ที่ได้ผลตอบรับแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ในเวลา 1 เดือน

ปัญหาเดิม เว็บล่ม ไม่อับ (เดต) ดับดาว

โรงแรมอโยธยามีเว็บไซต์ www.AyothayaHotel.com เป็นของตัวเองมา 5 ปีแล้ว แต่เป็นเว็บไซต์ที่ไม่อัพเดต มากนัก ในแต่ละปีจะมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลน้อยมาก นโรฒม์ เรืองระวีวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า เมื่อ 5 ปีก่อน ใช้วิธีจ้างเว็บมาสเตอร์ในจังหวัดเป็นคนดูแลเว็บไซต์ แต่ละปีจะ เสียค่าดูแลเว็บไซต์ราว 20,000 บาท แต่ผลตอบรับที่กลับมาไม่คุ้มค่า เนื่องจากเจ้าของธุรกิจไม่สามารถที่จะปรับปรุงเว็บไซต์ได้ตามที่ต้องการ และการปรับปรุงแต่ละครั้งก็มี ค่าใช้จ่ายทั้งหมด สิ่งเหล่านี้กลายเป็นรายจ่ายที่ไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะเมื่อมีคนเข้ามา ก็จะเปิดหน้าเพจไม่ได้ โหลดช้า เหล่านี้เป็นอุปสรรคอย่างมากในการที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าถึงข้อมูลของโรงแรม


กับอีกกรณีหนึ่ง ข้อมูลของโรงแรมถูกแฮกโดยผู้ประกอบการคู่แข่ง นโรฒน์เล่าว่า นอกจากเว็บไซต์จะล่มบ่อยครั้งแล้ว ระยะหลัง ๆ ไม่มีคนรู้จักโรงแรมเลย เมื่อตรวจสอบไปดู ก็พบว่าไม่ใช่ปัญหาทางเทคนิคอย่างเดียว แต่มีคนเข้ามาแก้ไขข้อมูล ที่อยู่ โดยเข้าไปแก้ไขที่อยู่จากอยุธยาไปอยู่ที่จังหวัดสระบุรี และข้อมูลทั้งหมดก็ถูกลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของคู่แข่ง ซึ่งมาทราบตอนหลัง

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่

กลยุทธ์ใหม่ ทำยังไงให้คนพัก

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสมัยใหม่จะแตกต่างจากเดิมตรงที่นักท่องเที่ยวจะไม่วางแผนการท่องเที่ยวนานเหมือน เมื่อก่อน และนิยมหาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก การที่นักท่องเที่ยงเข้ามาในเว็บไซต์ คือมีความสนใจในข้อมูล รวมทั้งสนใจที่จะจองห้องพักจริง ๆ

นโรฒน์เล่าให้ฟังว่า ประการแรก เว็บไซต์ของเขาจะต้องปรับแต่ง แก้ไขข้อมูล ที่อยู่ใหม่ทั้งหมด ไม่เน้นรูปใหญ่ ทำให้โหลดช้า แต่จะต้องมานั่งคิดก่อนว่า ในเว็บไซต์จะใช้เครื่องมืออะไรได้บ้าง เพื่อที่จะช่วยให้รู้ว่าลูกค้าที่มาเปิดเป็นคนประเทศไหน เช่น Google Analytics เป็นโซลูชั่นด้านการวิเคราะห์เว็บที่ช่วยให้ทราบว่ามีลูกค้าสแกนดิเนเวียนเข้ามาจำนวนมาก จากที่เคยเข้าใจว่าเป็นอเมริกา ทำให้การวางแผนใน การขายตั๋วกับเอเยนซี่ตรงกลุ่มมากขึ้น คือเจาะไปที่ลูกค้า ชาวสแกนดิเนเวียนในทันที ก็จะได้ลูกค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย


จากนั้นมาดูว่าจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ภายในหน้าเพจเดียวอย่างรวดเร็วได้อย่างไร จองห้องพักในทันทีได้อย่างไร เพราะถ้าช้า ลูกค้าก็จะตัดสินใจไปดูที่เว็บไซต์อื่นในทันที

ภายในหน้าเว็บไซต์จึงต้องมีลิงก์ที่จะแนะนำแพ็กเกจ ห้องพัก สถานที่ สามารถเข้าได้ทางเมนูด้านข้าง หรือสไลด์จากหน้าจอลงมาเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเปิดหน้าใหม่

การเลือกรูปและเรื่อง นโรฒม์ว่าคิดมาก่อน ว่าจะเป็น รูปแบบไหน และให้ข้อมูลอะไรได้บ้าง

แทนที่จะมาทะเลาะกันกับโรงแรมอื่น ๆ เรื่องแย่งลูกค้า เรามาดูว่าจะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาพักที่เราได้อย่างไร ประการแรก คือเนื่องจากอยุธยาอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ทำอย่างไร นักท่องเที่ยวมาแล้วจะค้างคืนได้ เราก็ต้องแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในยามค่ำคืน เช่น การแสดงแสง สี เสียง ลอยกระทง มรดกโลก มีสถานที่ไหนบ้าง งานวันที่ 5 ธันวาคม เหล่านี้ช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยานานมากขึ้น แทนที่จะมาดูวัดในตอนกลางวันและกลับตอนเย็นเพียงอย่างเดียว

และถ้าใครอยู่ระหว่างตัดสินใจ นโรฒม์แนะว่า ต้องมีกลยุทธ์ที่จะดึงดูด เช่น การขายของที่ระลึก ที่อื่นไม่มี แปลก สวย แต่มีเงื่อนไขว่า

ให้มารับเองที่โรงแรมอโยธยา ซึ่งนักท่องเที่ยว อาจจะยังไม่ได้ตัดสินใจในการมาพักที่นี่ แต่เมื่อมีแรงดึงดูดบางอย่าง อาจจะช่วยให้เขาตัดสินใจได้เร็วขึ้น

นอกจากนี้ การทำการตลาดยังต้อง แตกต่างจากที่เอเยนซี่ทำอีกด้วย นั่นก็คือ ปกติเอเย่นต์จะใช้การตัดราคาเข้าแข่งขัน เช่น จากราคาห้องละ 900 บาท เหลือ 500 บาท แน่นอนว่า โรงแรมไทยไม่มีรายได้ในการที่จะนำมาปรับปรุงพัฒนากิจการเลย แต่การทำการตลาดที่ดึงดูดลูกค้าได้ ก็คือไม่ลดราคา แต่แจกแถมมากกว่า เช่น มาพัก 2 คืน แถม 1 คืน เป็นต้น

ซึ่งผลของการปรับปรุงเว็บไซต์เหล่านี้ เขาได้จากโครงการพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการใช้ไอทีสำหรับผู้ประกอบการโรงแรมและที่พัก (1-3 ดาว) “ที่ทาง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้ามาช่วยอบรม

นับว่าได้ผล เพราะภายใน 1 เดือน มีคนเข้ามาเปิดวันละ 6,000 คน ในขณะที่การจองห้องพักภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มถึง 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว